-------------------------------------------------------------------------------- --------------------------------------------------------------------------------

ลงโฆษณา

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชื่นชม..อย่างเนียนเพื่อซื้อใจคน

42965_002 การพูดจาเอ่ยชมใครอย่างตรงไปตรงมานั้นอาจไม่ใช่เรื่องผิดนัก เพราะคนเรานั้นล้วนต้องการชื่นชมยกย่อง  แต่การเอ่ยชมตรงๆ นั้นมักจะดูเป็นการตั้งใจชมหรือให้ยาหอมกันมากจนเกินไป และอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกกำลังถูกประจบก็เป็นได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้านายเดินผ่านโต๊ะทำงานของคุณ คุณเอ่ยทักเจ้านายว่า “สวัสดีค่ะเจ้านาย แหม! วันนี้เนกไทเท่ระเบิดเลยค่ะ” แน่นอนว่าเจ้านายกต้องชอบ เพราะแสดงว่าคุณสนใจการแต่งกายของเขา และเขาจะไม่แฮปปี้แน่ถ้าไม่เคยมีใครทักถึงเนกไทของเขาเลยตลอดเดือนเต็มๆ

แต่เมื่อเจ้านายเดินผ่านโต๊ะเพื่อนของคุณ เพื่อนคุณทักว่า “สวัสดีครับเจ้านาย เมื่อวานผมอ่านบทสัมภาษณ์ของเจ้านายในหนังสือจีเอ็ม ผมชอบมากเลยครับ” เมื่อฟังแล้เจ้านายของคุณจะปลื้มมาก แม้ลูกน้องไม่ได้เอ่ยว่าเจ้านายพูดได้ยอดเยี่ยมอย่างไร แต่การชมอย่างแนบเนียนเช่นนี้ทำให้รู้สึกได้ว่าเป็นการชื่นชมของลูกน้องจริงๆ มิได้เป็นการประจบสอพลแต่อย่างไร

แต่แน่นอนว่าการชมแบบแรกก็ยังคงต้องใช้บ้างอย่างจริงใจและอย่าให้พร่ำเพรื่อ

การชมในแบบหลังเป็นกาชมที่มีพลังกว่า เพราะเจ้านายทราบถึงความรอบรู้กว่าขวางของคุณด้วย จากการที่คุณอ่านนิตยสารแล้วพบบทสัมภาษณ์ทั้งๆ ที่เจ้านายมิได้บอกกล่าวมากก่อน

หากรู้จักชื่นชมผู้อื่นอย่างแนบเนียน การพูดเพื่อจูงใจก็จะทำให้เกิดผลดีตามมา

การชื่นชมอย่างแนบเนียน คือการแสดงความปลื้มในผู้อื่นอย่างชื่นชมจริงใจมิใช่เอ่ยชมตรงๆ เช่น ลูกน้องของคุณออกแบบเสื้อผ้าได้เก่งมาก แทนที่คุณจะเอ่ยชมตรงๆ ว่า “คุณออกแบบชุดนั้นได้สวยนะ” คุณควรกล่าวว่า “ชุดที่คุณออกแบบนั้นขายดีมากที่เดียว” การที่คุณเอ่ยเช่นนี้เท่ากับเป็นการเอ่ยชมนั่นเอง แต่ก็เป็นการจูงใจทางอ้อมด้วย

นักออกแบบผู้นั้นจะเป็นปลื้มที่ได้ยินว่าผลงานของตนเองขายดี และเขาก็จะรู้ด้วยตัวเองว่ามันแสดงว่าผลงานของเขาสวย และเขาจะตั้งใจผลิตงานดีๆ มาให้คุณอีก

แต่การชมว่าออกแบบได้สวยนั้น คนฟังก็จะเพียงดีใจที่เจ้านายชมเท่านั้น หากทว่ามิได้มีผลอันเป็นพลังมากเท่ากับการชมในแบบที่ 2 ซึ่งเป็นการชื่นชมอย่างแนบเนียนเพื่อจูงในทางอ้อม

สิ่งที่อาจสนใจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น