-------------------------------------------------------------------------------- --------------------------------------------------------------------------------

ลงโฆษณา

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

การปฏิเสธแบบผ่อนปรน

boss_beating_fist_on__a_haลักษณะการพูดโน้มน้าวใจคนอื่นหรือจูงใจคนอื่นด้วยวิธีการที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งคิดว่าคุณนั้นได้โอนอ่อนผ่อนปรนยอมประนีประนอมให้กับเขาแล้ว ถือว่าเป็นการพูดจูงใจที่ค่อนข้างได้ผลแม้ในความเป็นจริงแล้วคุณได้ออกไปเป็นเชิงปฏิเสธด้วยซ้ำ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นหัวหน้างาน มีลูกน้องคนสำคัญคนหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะมีบทบาทหน้าที่สำคัญในสายงาน มีความสามารถมากแต่อาจจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งตัวบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่มีความผิดและคุณพิจารณาดูแล้วว่าไม่สามารถจะยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ที่คนผู้นั้นเสนอได้อีก คือไม่สามารถที่จะอ่อนข้อหรือยอมคนผู้นั้นได้อีกแล้ว

แต่การจะพูดหรือต่อรองกันแบบให้แตกหักไปเลยนั้น ยังไม่สามารถจะกระทำได้ในทันที เพราะคุณรู้ดีว่าถ้าบุคคลผู้นั้นลาออกไปบริษัทอาจจะเสียหายเพราะยังหาคนมาแทนไม่ทัน

สมมติว่าในวันหนึ่ง เขาเอ่ยกับคุณในที่ประชุมหรือในห้องทำงานของคุณว่า “ถ้าคุณไม่จัดการกับเรื่องนี้ผมคงต้องลาออก”

แทนที่คุณจะพูดว่าเชิญออกไปเลย คุณไม่สามารถจัดการให้ได้หรอ หรือลักษณะใดๆ ก็ตามที่เนการปฏิเสธแบบชัดเจนในด้านเดียว ผลที่ได้อาจจะกระทบต่อสายงานหรือบริษัทก็ได้ เพราะตอนนั้นมีงานชิ้นหนึ่งคั่นค้างอยู่ซึ่งคุณต้องการให้เขาผู้นั้นทำให้เสร็จก่อน

คุณอาจจะเอ่ยจูงใจหรือโน้มน้าวใจด้วยคำพูดในทำนองที่ว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกันนะ ผมจะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนวันจันทร์หน้าเราจะมาดูปัญหาตรงนี้กันอย่างจริงจังเลยนะ”

การพูดเช่นนี้จะเห็นได้ว่าคุณไม่ได้เอ่ยกับบุคคลผู้นั้นว่าทุกอย่างไม่มีปัญหา คุณจะจัดการให้เขาได้แน่นอน ซึ่งถ้าพูดในลักษณะนั้นออกไปจะเป็นการรับปากเขาไปแล้วว่าคุณยินยอมจะจัดการปัญหาทุกอย่างให้เขา

และถ้าคุณเอ่ยเป็นทำนองนี้แสดงว่าเขาผู้นั้นจะต้องทำงานให้เสร็จเสียก่อนแล้วจึงค่อยมาพูดปัญหาเรื่องนี้กัน เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของคุณสั่งเขาทางอ้อม และเป็นการใช้วิธีนุ่มนวลซึ่งเขาเองก็ไม่สามารถดึงดันวิธีอันรุนแรงอย่างอื่นได้อีก และอีกด้านหนึ่งก็เป็นการปฏิเสธว่าคุณไม่สามารถจะจัดการกับปัญหาให้เขาภายในเวลานั้นได้อย่างแน่นอน แต่เขาต้องจัดการงานให้เสร็จสินเสียก่อนจึงค่อยมาคุยกัน

ซึ่งการเอ่ยปฏิเสธแบบโอนอ่อนผ่อนปรนเช่นนี้ ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถทำอะไรรุนแรงหรือดื้อดึงกับคุณได้ และยังทำให้เขามีคามหวังเล็กๆ น้อยๆ ว่าทุกอย่างอาจจะแก้ไขได้ เขาอาจจะได้รับชัยชนะในเงื่อนไขตามที่เขาต้องการ

แม้ในท้ายที่สุดแล้วเมื่อถึงเวลาคุยกันคุณอาจจะไม่ยินยอมจัดการตามที่เขาต้องการก็ได้ เพราะเรื่องนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถทำได้ เพราะเรื่องนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถทำได้จริงๆ ซึ่งในเวลานั้นคุณก็อาจจะหาคนมาแทเขาได้แล้ว ถ้าเขต้องการจะออกเพียงเพราะปัญหาบางเรื่องเท่านั้น

หรือไม่ถ้าคุณต้องการบุคคลผู้นี้จริงๆ คุณก็อาจจะหาทางออกของวิธีการแก้ปัญหาได้ทันเวลาที่คุณได้เลื่อนกำหนดออกไป

สิ่งที่อาจสนใจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น